กะทิ ถือเป็นส่วนผสมสำคัญในการประกอบอาหารของไทย เนื่องจากกะทิให้รสหวานมัน และมีกลิ่นหอม นิยมใช้ประกอบทั้งอาหารคาว และของหวาน อาหารคาว ได้แก่ แกงเขียวหวาน ต้มยำน้ำข้น ห่อหมก และแกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนของหวาน ได้แก่ บวชแตงไทย ลอดช่อง เป็นต้น
ลักษณะของน้ำกะทิ
กะทิมีลักษณะทั่วไปมีสีขาวขุ่นทึบแสง คล้ายน้ำนม และมีกลิ่นเฉพาะของกะทิ โดยกะทิเป็นสารละลายที่อยู่ในรูปอิมัลชันที่ยึดเกาะระหว่างโปรตีน น้ำมัน และน้ำ ซึ่งหยดน้ำมันที่อยู่ในกะทิจะถูกล้อมรอบด้วยเมมนเบรนของสารต่างๆ ได้แก่ โกลบูลิน และอัลบูมิน รวมถึงสารประกอบฟอสโฟไลปิด ได้แก่ เลซิทิน เซฟาลิน ซึ่งสารเหล่านี้ มีหน้าที่ที่สำคัญสำหรับเป็นอิมัลซิไฟเออร์ทำให้น้ำในกะทิคงตัว ไม่มีการแยกชั้นของน้ำมัน โปรตีน และน้ำ
ชนิดของน้ำกะทิ
น้ำกะทิทั่วไปที่คั้นได้จากเนื้อมะพร้าวสดจะต้องมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 และมีน้ำไม่เกินร้อยละ 55 เมื่อตั้งทิ้งไว้หรือนำมาแยกสกัดสามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ของกะทิได้อีก 2 ชนิด คือ
1. หัวกะทิ
หัวกะทิ หรือ ชั้นครีม เป็นส่วนที่ได้จากการแยกตัวของสารละลายน้ำกะทิหลังตั้งทิ้งไว้ ซึ่งหัวกะทิจะลอยตัวแยกชั้นในส่วนบนสุด มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่น และข้นหนืด ทั้งนี้ หัวกะทิที่ดีควรมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
2. หางหัวกะทิ
หางกะทิ หรือ ชั้นน้ำ เป็นส่วนที่ได้จากการแยกชั้นของน้ำกะทิเช่นกัน แต่จะเป็นส่วนที่แยกชั้นอยู่ด้านล่างสุด เป็นส่วนที่มีมากที่สุดในน้ำกะทิ มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวขุ่น หางกะทินี้ ควรมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEijkzkMnmwlrpNwoqMlhcB2_xztC3Y4qTciApnumr5bAMgNarzQMtwlyoNHvWPVUpq7JMdYhOBGMu1m8TXZvjCHTLsji8VncwuDZUwhJnu_Il_07fWlverO3wC3bXmsJ5RJ-N1WjRe3YZI/s320/%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A7.jpg)
กะทิ เป็นอาหารในหมวดไขมันที่ให้พลังงานสูง มี pH ต่ำ ประมาณ 6.2 จึงต้องใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำกะทิ ได้แก่
• กรดไขมัน
– กรดไขมันชนิดอิ่มตัวมากกว่า 90% คือ กรดลอริค (Lauric Acid) 40-50% กรดไมริสติค (Myristic Acid) 13-19% กรดปาล์มิติก (Plamitic Acid) 4-18%
– กรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดโอเลอิค (Oleic Acid) และไลโนเลอิค (Linoleic Acid) ไม่เกิน 10%
• คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยน้ำตาลซูโคส และแป้ง
• แร่ธาตุ ได้แก่ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และโพแทสเซียม
• โปรตีน ได้แก่ โกลบูลิน (globulins) และอัลบูมิน (albumins) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด
คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าวขูด (100 กรัม)
• พลังงาน 326 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน 3.5 กรัม
• ไขมัน 28.7 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 13.3 กรัม
• เส้นใย 6.4 กรัม
• ฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม
• เหล็ก 1.9 มิลลิกรัม
• ไทอามีน 0.02 มิลลิกรัม
• ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม
• ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม
• วิตามินซี 11 มิลลิกรัม
• เถ้า 1.0 กรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น