วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์และเครื่องมือ


อุปกรณ์


1.แป้งข้าวเหนียว ½ ถ้วย

2.แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ

3.กะทิกระป๋อง (ขนาด 400 มล) 1 กระป๋อง

4.น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ

5.น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนโต๊ะ

6.เผือก 1 ถ้วย

7.เกลือป่น ¼ ช้อนชา

8.ใบเตย 3-5 ใบ



เครื่องมือ

1. ชามผสม

2. หม้อ






วิธีการทำบัวลอย

วิธีทำ



1. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง นำเผือกไปนึ่งในหม้อนึ่งประมาณ 20 นาทีหรือจนเผือกสุก เมื่อเผือกสุกแล้ว รอให้เผือกเย็นจึงนำมาขูดเอาแต่เนื้อออกให้หมด



2. นำแป้งข้าวเหนียว แป้งมัน น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา และเกลือป่นนิดหน่อย ผสมลงไปในชามผสมจากนั้น นำเผือกที่ขูดไว้มาผสมกับแป้ง




3. นำกะทิมาแบ่งใส่ถ้วยประมาณ ½ ถ้วย ส่วนกะทิที่เหลือนำไป
ใส่หม้อไว้ ใส่น้ำกะทิลงไปในส่วนผสมแป้งประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ จากนั้นทำการนวดให้เผือกเข้ากับแป้ง ถ้าแป้งแห้งไปให้เติมกะทิลงไปทีละ 1 ช้อนโต๊ะ นวดไปเรื่อยๆ จนแป้งและเผือกเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน




4. เมื่อนวดจนแป้งเนียนได้ที่แล้วก็ปั้นแป้งเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณ ¼ นิ้ว ปั้นไปเรื่อยๆ จนแป้งหมด จากนั้น เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง เอาน้ำเปล่าประมาณ 4 ถ้วยใส่ลงไปในหม้อ ต้มจนน้ำเดือดจึงเอาแป้งที่ปั้นไว้ใส่ลงไป รอจนแป้งสุก (สังเกตว่าแป้งจะลอยขึ้นมาเอง) ก็ช้อนแป้งที่สุกแล้วมาแช่ในน้ำเย็นจัดเพื่อให้แป้งคงตัว





5. เปิดเตาที่ไฟปานกลางนำใบเตยมัดเป็นกำแล้วใส่พร้อมตอนลงต้ม
กะทิในหม้อไปตั้งบนเตา ใส่น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊ป และเกลือป่นลงไป หมั่นคนตลอดเวลา จากนั้น คนจนกะทิเดือดก็นำเม็ดบัวลอยที่เย็นแล้วใส่ลงในหม้อกะทิ คนให้เข้ากัน



6. ตักใส่ถ้วย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติบัวลอย



ร้อยเรื่องเล่าพันตำนาน
คลองบางกอกน้อย
ตำนานบัวลอย

สุดคลองบางกอกน้อย.... พายเรือตามหาบัวลอย จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย เสียงร้อง เพลงของนายท้ายที่นอนร้องเพลง เปิดพุงสบายใจเฉิ่ม แว่วมาเข้าหูผมในช่วงบ่ายของวัน อาทิตย์ ขณะที่กำลังแอบอู้งานนอนอยู่บนเรือที่ลอยอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอลูกทัวร์ จึงหยิบดินสอกับสมุดพกมาเขียนเรื่องตำนานบัวลอยคลองบางกอกน้อย

ตำนานบัวลอย จะว่ามีที่มาจากขนมบัวลอยก็ไม่เชิง แต่จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้เหตุเกิด จากเมื่ออดีตกาลนานมาแล้วมีสตรีตั้งท้องต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัวโดยการทำขนมขาย แม้ผัวจะห้ามปราอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมบัวลอยใส่เรือแล้วพาย ไปขายในคลอง ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน
“บัวลอยจ้า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย" และด้วยขนมบัวลอยทำจากกระทิ เมื่อทำเสร็จแล้วก็เอาลงเรือขายเลยประกอบกับฝีมือการทำขนม บัวลอยที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน จนใครๆก็เรียกเธอว่า “บัวลอย”

วันหนึ่งเมื่อผัวกลับจากทำงานไม่เห็นเมียสุดที่รัก จึงพายเรือตามหาบัวลอยพร้อม กับร้องตะโกนว่า “บัวลอย บัวลอย” แต่ก็ไม่พบแม้แต่เรือ
ของเธอ หลังจากนั้นไม่นานก็มีคน พบศพเธอลอยไปติดอยู่ที่ท่าเรือของวัดในคลองจึงมีการนำขึ้นมาทำพิธีตามศาสนาและด้วย ความเชื่อของคน ไทยที่ว่า ถ้าตายท้องกลมผีจะเฮี้ยนจึงไม่ได้มีการเผาแต่แค่ฝั่งเอาไว้ และ มีบางคนมาขอหวยปรากฎว่าถูกจนโด่งดังไปทั่วผู้คนถูกหวยเป็นว่าเล่น

แต่แล้วเช้าวันหนี่งศพของบัวลอยก็หายไป คาดว่าเจ้ามือหวยคงมาทำการขุดศพเอาไปทิ้งและสะกดวิญญาณไว้ หลังจากนั้นตำนานบัวลอย ก็เริ่มถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา แต่นี้เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมาของคลองบางกอกน้อย และได้มีการนำมาทำ เป็นเพลง ดังเพลง บางกอกน้อยที่ ครู ศรเพชร ศรสุพรรณ ได้นำมาขับร้อง

วิธีทำน้ำกะทิ



น้ำกระทิ
สำหรับการทำน้ำกะทิด้วยมือ หลังจากสับ และปอกเปลือกส่วนที่เป็นเปลือกมะพร้าวออกแล้วจะเป็นการขูดผิวกะลาให้เกลี้ยง หลังจากนั้น จะทำการเฉาะกะลามะพร้าวให้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในแนวขวาง โดยแบ่งให้มีขนาดเท่ากัน

การเฉาะกะลา ให้เฉาะบางส่วนก่อน แล้วใช้มีดงัดกะลาบริเวณที่แตกเพื่อเอาน้ำออกให้หมด หลังจากนั้น ค่อยเฉาะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก็จะได้เนื้อมะพร้าวที่ติดกะลาพร้อมขูด

การขูดเนื้อมะพร้าว คนไทยเรามักใช้เครื่องมือที่เรียกว่า กระต่ายขูดมะพร้าว ที่ทำจากไม้ มีลักษณะเป็นไม้นั่ง โดยมีส่วนปลายยึดติดกับแผ่นเหล็กที่ลักษณะครึ่งวงกลม ขอบแผ่นเหล็กมีลักษณะเป็นฟันเลื่อยที่ทำหน้าที่แยกเนื้อมะพร้าวให้มีขนาดเล็ก หลังการขูดมะพร้าวแล้วจะได้เนื้อมะพร้าวที่พร้อมสำหรับการทำน้ำกะทิ




ขั้นตอนคั้นน้ำกะทิ
– นำเนื้อมะพร้าวใส่ในชาม พร้อมเทน้ำอุ่นลงผสมในชาม หรือ หากเป็นน้ำร้อน หลังการเทลงชาม ต้องทิ้งไว้สักพักให้อุ่นก่อน ปริมาณน้ำอุ่นที่ใช้ ประมาณ 1 ถ้วย
– ทำการคั้นด้วยมือ นาน 15-20 นาที
– ทำการกรองแยกน้ำ และกาก
– นำกากผสมกับน้ำอุ่น ประมาณครึ่งถ้วย แล้วคั้นด้วยมือนาน 5-10 นาที ก่อนแยกน้ำกับกากออก
– นำน้ำกะทิส่วนแรกผสมกับส่วนที่ 2 เป็นอันได้น้ำกะทิสด
– หากต้องการความเข้มข้นของน้ำกะทิ ให้นำเข้าอุ่นไฟจนเหลือน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย

ข้อแนะนำ
– การขูดเนื้อมะพร้าว ให้ขูดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อ ไม่ควรขูดส่วนที่เป็นเยื่อกะลาติดมาด้วย เพราะจะทำให้น้ำกะทิมีรสขมเล็กน้อย
– การอุ่นน้ำกะทิ ห้ามใช้ไฟแรงมากกว่า 70 °C และไม่ควรตั้งนาน ควรตั้งเคี่ยวสักพัก แล้วยกลง และค่อยนำตั้งไฟใหม่ เพราะหากใช้ไฟแรง หรือ ตั้งไฟนานจะทำให้กะทิจับตัวกันเป็นก้อน แต่อาจเคี่ยวโดยใช้ไฟแรงหรือเคี่ยวนานได้ หากเคี่ยวเสร็จแล้วนำไปใช้ทันที
– น้ำกะทิที่คั้นเสร็จแล้ว หากไม่ได้ใช้ทันทีจะเกิดการแยกชั้น เมื่อต้องการใช้ให้คนหรือเขย่าให้เข้ากันเสียก่อน

ใบเตย


เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan Leaves, Fragrant Pandan, Pandom wangi

เตย ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล

สมุนไพรเตย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ต้นเตยหอม จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของเป็นทางยาว สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งมีขอบใบเรียบ ซึ่งเราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant Screw Pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาด




ประโยชน์ของใบเตย
ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็นทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลังได้
การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ,ราก)
ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้

กะทิ

กะทิ หรือ น้ำกะทิ (Coconut milk) เป็นผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ไม่มีเส้นใยที่ได้จากผลมะพร้าว ด้วยการสกัดหรือการบีบอัดจากเนื้อมะพร้าว แต่อาจมีน้ำมะพร้าวปนอยู่ ซึ่งอาจใช้วิธีการเติมน้ำหรือไม่ก็ได้ และเมื่อตั้งทิ้งไว้จะเกิดการแยกชั้นของสารละลาย ชั้นบน เรียกว่า “หัวกะทิ” ชั้นล่าง เรียกว่า “หางกะทิ”

กะทิ ถือเป็นส่วนผสมสำคัญในการประกอบอาหารของไทย เนื่องจากกะทิให้รสหวานมัน และมีกลิ่นหอม นิยมใช้ประกอบทั้งอาหารคาว และของหวาน อาหารคาว ได้แก่ แกงเขียวหวาน ต้มยำน้ำข้น ห่อหมก และแกงมัส
มั่น เป็นต้น ส่วนของหวาน ได้แก่ บวชแตงไทย ลอดช่อง เป็นต้น



ลักษณะของน้ำกะทิ

กะทิมีลักษณะทั่วไปมีสีขาวขุ่นทึบแสง คล้ายน้ำนม และมีกลิ่นเฉพาะของกะทิ โดยกะทิเป็นสารละลายที่อยู่ในรูปอิมัลชันที่ยึดเกาะระหว่างโปรตีน น้ำมัน และน้ำ ซึ่งหยดน้ำมันที่อยู่ในกะทิจะถูกล้อมรอบด้วยเมมนเบรนของสารต่างๆ ได้แก่ โกลบูลิน และอัลบูมิน  รวมถึงสารประกอบฟอสโฟไลปิด ได้แก่ เลซิทิน เซฟาลิน  ซึ่งสารเหล่านี้ มีหน้าที่ที่สำคัญสำหรับเป็นอิมัลซิไฟเออร์ทำให้น้ำในกะทิคงตัว ไม่มีการแยกชั้นของน้ำมัน โปรตีน และน้ำ



ชนิดของน้ำกะทิ
น้ำกะทิทั่วไปที่คั้นได้จากเนื้อมะพร้าวสดจะต้องมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3 และมีน้ำไม่เกินร้อยละ 55 เมื่อตั้งทิ้งไว้หรือนำมาแยกสกัดสามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ของกะทิได้อีก 2 ชนิด คือ
1. หัวกะทิ
หัวกะทิ หรือ ชั้นครีม เป็นส่วนที่ได้จากการแยกตัวของสารละลายน้ำกะทิหลังตั้งทิ้งไว้ ซึ่งหัวกะทิจะลอยตัวแยกชั้นในส่วนบนสุด มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวขุ่น และข้นหนืด ทั้งนี้ หัวกะทิที่ดีควรมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5
2. หางหัวกะทิ
หางกะทิ หรือ ชั้นน้ำ เป็นส่วนที่ได้จากการแยกชั้นของน้ำกะทิเช่นกัน แต่จะเป็นส่วนที่แยกชั้นอยู่ด้านล่างสุด เป็นส่วนที่มีมากที่สุดในน้ำกะทิ มีลักษณะเป็นน้ำสีขาวขุ่น หางกะทินี้ ควรมีไขมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และโปรตีนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3






องค์ประกอบของน้ำกะทิ
กะทิ เป็นอาหารในหมวดไขมันที่ให้พลังงานสูง มี pH ต่ำ ประมาณ 6.2 จึงต้องใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำกะทิ ได้แก่
• กรดไขมัน
– กรดไขมันชนิดอิ่มตัวมากกว่า 90% คือ กรดลอริค (Lauric Acid) 40-50% กรดไมริสติค (Myristic Acid) 13-19% กรดปาล์มิติก (Plamitic Acid) 4-18%
– กรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดโอเลอิค (Oleic Acid) และไลโนเลอิค (Linoleic Acid) ไม่เกิน 10%
• คาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยน้ำตาลซูโคส และแป้ง
• แร่ธาตุ ได้แก่ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และโพแทสเซียม
• โปรตีน ได้แก่ โกลบูลิน (globulins) และอัลบูมิน (albumins) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิด

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าวขูด (100 กรัม)
• พลังงาน 326 กิโลแคลอรี่
• โปรตีน 3.5 กรัม
• ไขมัน 28.7 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 13.3 กรัม
• เส้นใย 6.4 กรัม
• ฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม
• เหล็ก 1.9 มิลลิกรัม
• ไทอามีน 0.02 มิลลิกรัม
• ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม
• ไนอาซิน 1.5 มิลลิกรัม
• วิตามินซี 11 มิลลิกรัม
• เถ้า 1.0 กรัม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ชนิดของแป้งที่ใช้ทำ

ชนิดของแป้ง

แป้งข้าวเหนียว เป็นแป้งที่ได้จากข้าวเหนียว ในสมัยก่อนได้แป้งโม่ ปัจจุบันนิยมใช้แป้งแห้ง ลักษณะของผงแป้งข้าวเหนียวมีสีขาวนวล สากมือน้อยกว่าแป้งข้าวเจ้า ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวมีความเหนียวนุ่ม เช่น ขนมถั่วแปบ แป้งจี่ ขนมโค ขนมโก๋ไทย ขนมต้ม ขนมบ้าบิ่น ข้าวเหนียวตัด บัวลอย ขนมเทียน ขนมเข่ง ข้าวเหนียวเปียก ขนมหัวล้าน เป็นต้น ถ้าไม่ต้องการให้ขนมเหนียวเกินไป จะผสมแป้งข้าวเจ้าลงไปด้วย



แป้งมันสำปะหลัง เป็นแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง ลักษณะของแป้งมีสีขาว เนื้อเนียน ลื่นเป็นมัน เมื่อทำให้สุกด้วยการกวนกับน้ำไฟอ่อนปานกลาง แป้งจะละลายง่าย สุกง่าย แป้งเหนียวติดภาชนะ หนืดข้นขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการรวมตัวเป็นก้อน เหนียวเป็นใย ติดกันหมด เนื้อแป้งใสเป็นเงา พอเย็นแล้วจะติดกันเป็นก้อนเหนียว ติดภาชนะ ใช้ทำลอดช่องสิงคโปร์ ครองแครงแก้ว เป็นต้น

สรรพคุณและประโยชน์ของเผือก


เผือก

เผือก ชื่อสามัญTaro (ภาษาจีนเรียกว่า โอ่วไน, โอ่วถึง, โทวจือ)


เผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดอยู่ในวงศ์บอน


เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา



เผือกในเมืองไทยเท่าที่ทราบจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ เผือกหอม (ชนิดหัวใหญ่ แต่ละหัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม และมีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ใช้ต้มรับประทานได้ มีกลิ่นหอม ส่วนกาบใบเป็นสีเขียว มีขนาดใหญ่), เผือกเหลือง (หัวสีเหลืองขนาดย่อม), เผือกไม้ หรือ เผือกไหหลำ (หัวมีขนาดเล็ก), และเผือกตาแดง (ตาของหัวเป็นสีแดงเข้ม มีหัวเล็กล้อมรอบหัวใหญ่เป็นกลุ่มจำนวนมาก กายใบและเส้นใบเป็นสีแดง)



สรรพคุณของเผือก

1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (หัว)
2. ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการใช้หัวเผือก 100 กรัม นำมาต้มใส่กับข้าวสวย 100 กรัม แล้วต้มให้เป็นโจ๊ก ใช้รับประทาน (หัว)
3. เผือกมีธาตุเหล็กและฟลูออไรด์สูง จึงช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยทำให้กระดูกแข็งได้ (หัว)
4. เผือกเป็นอาหารที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงลำไส้ และแก้อาการท้องเสียได้ด้วย (หัว)
5. ช่วยบำรุงไต (หัว)



ประโยชน์ของเผือก

1. ใบ ก้านใบ และยอดของต้นเผือกสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ โดยก้านใบสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทำแกง หรือนำไปทำเป็นผักดอง โดยคุณค่าทางโภชนาการของใบ ประกอบไปด้วย วิตามินเอ, วิตามินซี  และคุณค่าทางโภชนาการของยอด  ประกอบไปด้วย วิตามินเอ, วิตามินซี 8
2. หัวเผือกสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารคาวหวานได้หลายอย่าง เช่น เผือกเชื่อม เผือกทอด เผือกรังนก เผือกเส้นกรอบเค็มเผือกกวน เผือกบวดชี เผือกฉาบ เผือกอบเนย เผือกหิมะ แกงบวดเผือก ขนมบัวลอยเผือกมะพร้าวอ่อน สังขยาเผือก ข้าวอบเผือก ข้าวเหนียวปิ้งใส่เผือก เค้กเผือก หม้อแกงเผือก เม็ดขนุนเผือก ขนมเผือก ขนมกุยช่ายไส้เผือกหรือนำไปใช้กวนเป็นไส้ขนมต่าง ๆ หรือใช้ทำเป็นซุปเผือปลากะพง หัวปลาเผือกหม้อไฟ ข้าวต้มเผือก เผือกทรงเครื่อง ฯลฯ
3. นอกจากนี้ยังนำมาใช้ทำเป็นแป้งเผือกเพื่อใช้ทำขนมต่าง ๆ เช่น ขนมปัง หรือทำอาหารทารก ทำเครื่องดื่ม ฯลฯ หรือใช้เป็นอาหารเพื่อป้องกันโรคแพ้บางอย่างของเด็กทารก และใช้แทนธัญพืชในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะลำไส้
4. หัวเผือกเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง มีโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี1 วิตามินซี และสารอาหารอื่น ๆ เกือบครบทุกชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เผือกจึงเป็นอาหารที่ให้พลังงานและบำรุงสุขภาพไปพร้อมกัน มีรสหวานจืดอมมันนิดหน่อย ย่อยได้ง่าย เหมาะทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

ผู้จัดทำโครงงาน

ผู้จัดทำโครงงาน



นายพันศร ฟองศิริ เลขที่ 4


นายกานต์ คำคูณเมือง เลขที่ 11


นายณัชพล นันทประทีป เลขที่ 17



นายพฤฒิพงศ์ เพ็ชรเอี่ยม เลขที่ 18 



นายพงศกร ชาวราษฎร์ เลขที่ 20



นายกานต์ คำคูณเมือง เลขที่ 21


นางสาวจิดาภา ตันตินิยมกุล เลขที่ 26


นางสาวฐิติพร โพธิ์เตียน เลขที่ 33



นางสาวธนพร เพ็งศรี เลขที่ 39